เทคโนโลยีการศึกษา
" เทคโนโลยี " หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่น เกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่าง เต็มที่ อันจะเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วยให้การงานนั้นได้ ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
3. ประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะเป็นผลทำให้ราคาของผลิตนั้นราคาถูกลง
4. ปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่อำนวยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบัน ได้มีการนำ เทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในหลายวงการ จากประโยชน์นานัปการที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างทางด้าน การศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ พัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่น เกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่าง เต็มที่ อันจะเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วยให้การงานนั้นได้ ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
3. ประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะเป็นผลทำให้ราคาของผลิตนั้นราคาถูกลง
4. ปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่อำนวยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบัน ได้มีการนำ เทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในหลายวงการ จากประโยชน์นานัปการที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างทางด้าน การศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ พัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งคลังเทคโนโลยีประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้
1.ความหมายเทคโนโลยีทางการศึกษา
คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตาม รากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือ เจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่อง พิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม
2. สื่อการเรียนการสอน
สื่อ นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไป อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อสอนการสอน” และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า “สื่อการสอน” หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือ เป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำ มาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอน ส่งไปถึงผู้เรียน สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สื่อ การเรียนการสอนนั้น เป็นตัวกลางหรือช่องทางถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อการเรียนก็นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนผู้สอนได้แสดง บทบาท และเกิดความเข้าใจในวิชาที่เรียนที่สอนกันได้มากขึ้น
ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
3.สื่อการสอนประเภทวัสดุ
คำว่าวัสดุ หมายถึง สิ่งของที่มีขนาดเล็กบางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกขาดแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เรียกว่า วัสดุสิ้นเปลือง เช่น กระดาษ กาว สี เชือก กิ่งไม้ ใบไม้ วัสดุมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก เช่น วัสดุตามธรรมชาติ วัสดุประดิษฐ์ วัสดุถาวร วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุแข็ง วัสดุเหลว วัสดุ2มิติ วัสดุ3มิติ เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการบรรจุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางชนิดสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเอง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ โปสเตอร์ แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ในการฉายเพื่อขยายเนื้อหาสาระให้มีขนาดใหญ่ หรือเสียงดังขึ้นจึงจะสื่อความหมายอย่างชัดเจน เช่น ฟิล์ม สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ เทปเสียง แผ่นโปร่งใส เป็นต้น
4.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(โสตทัศนูปกรณ์)
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio –visual equipments ) มี หน้าที่หลัก คือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอ้านวยความสะดวกในการรับรู้ของ มนุษย์ ดังนั้นการน้าอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
5.สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
สื่อ ประเภทกิจกรรมนับเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้ เรียนเป็นอย่างยิ่งเพราะมีศักยภาพสูงในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน ทำให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรม
ความหมายของสื่อกิจกรรม
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่จะนำมาใช้การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่มีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
กิจกรรม หมายถึง การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้
สื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้ เนื้อหาบทเรียนด้วย การดู การฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมผัส จับต้องด้วยตนเอง รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น การแสดงบทบาทในละคร การละเล่น เกม กีฬา การแข่งขันต่างๆตลอดจนการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยความเพลิดเพลิน บาง กิจกรรมอาจใช้สื่อวัสดุหรืออุปกรณ์เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้เนื้อหาสาระในกิจกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
6.สื่อความหมาย
ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมายการสื่อความหมาย (Communications) หมาย ถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ3.1.3 สื่อหรือช่อง ทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้นรูปแบบของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมายจำแนกได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะในการสื่อความหมาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (Verbal Communication)
1.2 ภาษาท่าทางหรือสัญญาณ (Non-Verbal Communication)
2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งหรือผู้รับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสื่อความหมายทางตรง (Direct Communication)
2.2 การสื่อความหมายทางอ้อม (Indirect Communication)
3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 การสื่อความหมายทางเดียว (One-way Communication)
3.2 การสื่อความหมายสองทาง (Two- way Communication)ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะ การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
การสื่อความหมายจำแนกได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะในการสื่อความหมาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (Verbal Communication)
1.2 ภาษาท่าทางหรือสัญญาณ (Non-Verbal Communication)
2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งหรือผู้รับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสื่อความหมายทางตรง (Direct Communication)
2.2 การสื่อความหมายทางอ้อม (Indirect Communication)
3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 การสื่อความหมายทางเดียว (One-way Communication)
3.2 การสื่อความหมายสองทาง (Two- way Communication)ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะ การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
7. จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษาธรรมชาติของมนุษย์โดยมิได้ใช้วิธีการทาง วิทยาศาสตร์ในการศึกษา จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีนักจิตวิทยาชาวเยอรมันคนแรกที่นำวิธีการทาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษา จิตวิทยา ปัจจุบันจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรม และกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นสาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยาซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลาย สาขา แต่ละสาขาต่างก็ศึกษาค้นคว้าในแนวของตน ทุกสาขาล้วนมีประโยชน์ทำให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจ และสามารถควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆกัน อาชีพครูจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน เพื่อจะได้เข้าใจพัฒนาการของเด็กซึ่งเป็นผู้เรียนในด้านต่างๆ และสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เพื่อให้เขามีวิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และทำให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8. การจัดระบบการเรียนการสอน
การเรียนการสอน
หมายถึง การจัดสถานการณ์ (SITUATION) สภาพการณ์ (CONDITION) หรือกิจกรรม (ACTIVITIES) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวกและง่ายดาย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามและพัฒนาทั้งทางกาย สมอง อารมณ์ และสังคม ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเหล่านี้
ทัศนะของการเรียนการสอน แบ่งได้ 3 ทัศนะใหญ่ คือ
1.ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ
2.ความหมายของการสอนเกี่ยวกับทักษะ
3.ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความเจริญงอกงาม
9.ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า
“นว” หมายถึง ใหม่
“กรรม” หมายถึง การกระทำ
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมาย ถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมาย ถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น